มูลนิธิดับเบิ้ลยูดับเบิ้ลยูเอฟ ได้ร่วมกับ WWF ประเทศไทย และกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (DMCR) นำทีมผู้เชี่ยวชาญด้านหญ้าทะเลและพะยูนระดับโลก Dr. Leonard McKenzie และ Dr. Helene Marsh ลงพื้นที่สำรวจสถานการณ์หญ้าทะเลและพะยูนในจังหวัดตรัง กระบี่ พังงา และภูเก็ต ระหว่างวันที่ 20-27 มกราคม 2568 โดยมีเป้าหมายสำคัญเพื่อประเมินสถานการณ์ล่าสุดของระบบนิเวศชายฝั่งที่สำคัญต่อพะยูนในประเทศไทย
ขอขอบคุณความร่วมมือจากหน่วยงานของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งในพื้นที่ นักวิจัยจาก มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย (RMUTSV) และ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (PSU) เจ้าหน้าที่จากอุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธารา-หมู่เกาะพีพี รวมถึงตัวแทนจากมูลนิธิอันดามัน วิสาหกิจชุมชนบ้านบ่อหิน และชุมชนบ้านบางพัฒน์
ในระหว่างการสำรวจโดยการใช้โดรน ทีมสำรวจได้พบเงาของพะยูนสองตัวปรากฏขึ้นชั่วครู่ก่อนจะดำดิ่งลงสู่พื้นทราย ทีมวิจัยบันทึกการเคลื่อนไหวนี้ได้ เพราะไม่บ่อยนักที่เราจะได้เห็นพะยูนในช่วงเวลาสำรวจ แต่ข่าวดีนี้มาพร้อมกับความกังวล ในพื้นที่สำรวจหลายจุดพบหญ้าทะเลกำลังเผชิญกับวิกฤติ และการเสื่อมโทรมของทุ่งหญ้าทะเลหมายถึงการหายไปของแหล่งอาหารสำคัญของพะยูน โดยมีรายงานพบซากพะยูนที่เสียชีวิตและการอพยพออกจากพื้นที่เดิมของพวกมัน
อย่างไรก็ตามทีมสำรวจยังพบสัญญาณบวก ในจังหวัดกระบี่และภูเก็ต ยังคงมีแนวโน้มว่าหญ้าทะเลสามารถฟื้นตัวได้ โดยเฉพาะที่กระบี่ซึ่งมีรายงานการพบลูกพะยูนเมื่อเดือนสิงหาคม 2567 และที่อ่าวตังเข็นในช่วงเวลาสำรวจ ทีมงานสามารถบันทึกพฤติกรรมการผสมพันธุ์ของพะยูนได้ ซึ่งเป็นสัญญาณว่าพวกมันยังคงหาทางปรับตัวให้เข้ากับแหล่งที่อยู่ใหม่และดำรงเผ่าพันธุ์ต่อไปได้
เส้นทางสู่การอนุรักษ์
เพื่อให้ทะเลอันดามันยังคงเป็นบ้านที่ปลอดภัยของพะยูน แนวทางสำคัญที่ต้องดำเนินการ ได้แก่:
การสำรวจครั้งนี้ไม่ใช่เพียงแค่การศึกษาทางวิทยาศาสตร์ แต่เป็นสะท้อนถึงความสำคัญของความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในการปกป้อง หญ้าทะเลและพะยูน ซึ่งเป็นหัวใจของระบบนิเวศทางทะเล และเราทุกคนคือความหวังของพวกมัน
มาร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการอนุรักษ์ทรัพยากร และต่อลมหายใจของพะยูนให้ดำรงอยู่ในทะเลไทยต่อไปด้วยกัน